บทความน่ารู้เกี่ยวกับเกลือ

11

เกลือที่ใช้กันเป็นเกลือสมุทร ได้จากทะเล เป็นเกลือดิบที่ยังไม่ผ่านการเติมสารต่าง ๆ จึงไม่แนะนำให้ใช้เกลือปรุงอาหาร เนื่องจากมีการเติมสารปรุงแต่งทั้งไอโอดีน และสารกันความชื้น เกลือจึงเป็นสารเคมี ราคาถูก ใช้ง่าย เหมาะที่จะเก็บสำรองไว้ใกล้ไม้ใกล้มือ เผื่อว่าจะจำเป็น

 

 

 

 

เกลือ ใช้ทำอะไรได้บ้าง ???

ใช้กำจัดหรือจำกัดปรสิต แบคทีเรีย ลดพิษของแอมโมเนีย…. มากมาย ทำนองเดียวกับสารเคมีอื่น เช่นฟอร์มาลีน, มาลาไคท์กรีน, ด่างทับทิม, ยาปฏิชีวนะบางตัว   ที่ให้ผลใกล้เคียงกัน แต่เกลือจะมีประโยชน์มากกว่าดังนี้

  1. ใช้ได้ง่ายกับปลาโดยทั่วไป (ไม่เหมือนกับฟอร์มาลีน ที่ปลาหลายชนิดทนไม่ได้ ยกเว้นปลาบางชนิดเท่านั้นที่ทนเกลือไม่ได้เช่นกัน)
  2. ไม่แรงจนเกินไป ไม่ทำให้ปลาที่อ่อนแอทนไม่ได้ (ต่างกับฟอร์มาลีน, มาลาไคท์กรีน, เมทาลีนบลู หรือ PP)
  3. กำจัดและจำกัด ปรสิตบางชนิดได้ผล
  4. ไม่เสื่อมสลาย เมื่อโดนแดดและอากาศ (ฟอร์มาลีน, เมทาลีนบลู,มาลาไคท์กรีน และ PP เสื่อมง่ายเมื่อโดนแสงแดดและอากาศ)
  5. ไม่มีผลข้างเคียงต่อผู้ใช้
  6. ไม่มีผลกับแบคทีเรียในระบบกรอง
  7. ราคาถูก ถูกมาก และถูกที่สุด

 

เกลือ กับ ปรสิต : ด้วยวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เกลือสามารถจำกัดปริมาณของปรสิตบางชนิดได้

  1. TRICODINA , เห็บระฆัง 0.3-0.6% , หลายวันต่อเนื่อง
  2. FLUKE ,    ปลิงใส 0.3% ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์, ลดปริมาณปลิงใสได้ 30-40%
  3. COSTIA ,   0.3% , หลายวันต่อเนื่อง
  4. CHILODINELLA ,   0.3% , หลายวันต่อเนื่อง
  5. EPISTYLIS,   0.3% , หลายวันต่อเนื่อง
  6. SCYPHIDIA,   0.3% , หลายวันต่อเนื่อง
  7. TETRAHYMENA,   0.3% , หลายวันต่อเนื่อง ทำให้ไม่เกาะที่แผล แต่ไม่สามารถกำจัดได้
  8. 8. ICH , โรคจุดขาว,    0.3% , 3-5 วัน , อุณหภูมิ 30 oC
  9. 9. หนอนสมอ,   0.3% , หลายวันต่อเนื่องสามารถลดจำนวนลงได้บ้าง แต่ไม่หมด

บางครั้งอาจเลือกทำที่ความเข้มข้นสูงกว่านี้ เช่น แบบ 3% DIP จุ่มเวลาสั้น ๆ

 

นอกจากนี้แล้ว เกลือ ยังใช้ในกรณีที่จำเป็นอื่น ๆ

1. ลดความเครียด : เมื่อมีการเคลื่อนย้ายปลา หรือปลามีความเครียด เกลือที่ความเข้มข้นต่ำ, 0.1%  สามารถช่วยได้ (ไม่ควรใช้ต่อเนื่อง)

 

ปลา KOI  เป็นปลาน้ำจืด ในตัวปลามีแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่เข้มข้นกว่าน้ำที่อยู่โดยรอบ ด้วยกระบวนการ OSMOSIS  แร่ธาตุและน้ำจะแพร่ผ่านเนื้อเยื่อ พยายามทำให้ทั้งในและนอกตัวปลา มีสารที่ความเข้มข้นเท่ากัน : ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เลือดจะข้นเท่าน้ำ

 

ปลาใช้ตับเป็นตัวควบคุมความเข้มข้นที่เหมาะสมนี้ ผ่านการควบคุม OSMOTIC PRESSURE เมื่อปลาอยู่ภาวะเครียด ตับจะทำงานไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้ร่างกายขาดเกลือไป การเติมเกลือลงไปบ้าง จึงลดการสูญเสียแร่ธาตุจากร่างกายได้บ้าง และทำให้ตับทำงานได้ง่ายขึ้น การสูญเสียพลังงานในการทำงานน้อยลง ปลาจึงฟื้นตัวได้เร็วขึ้น การใช้แบบต่อเนื่องจะทำให้การทำงานของอวัยวะภายในคลาดเคลื่อนไปจากเดิม ในระยะยาวจึงไม่เป็นผลดี

 

2. ลดการสูญเสียน้ำ/แร่ธาตุ : เมื่อปลาเป็นแผลทั้งจากอุบัติเหตุ หรือ ULCER DISEASE ปลาซึ่งปกติ

ควบคุมปริมาณน้ำ/แร่ธาตุ ที่เข้าออกร่างกายผ่านเหงือก, ตับและไต จะสูญเสียการควบคุม ปลาจะสูญเสียน้ำและแร่ธาตุออกไปทางแผล ทำให้ปลาอยู่ในสภาพอ่อนแอ,ภูมิคุ้มกันต่ำและ…. การใช้เกลือที่ความเข้มข้นปานกลาง 0.1-0.5% จึงเป็นการแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ ทำให้ปลาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

 

3. การควบคุมปริมาณปรสิต : หัวข้อนี้ต้องอธิบายเรื่อง OSMOSIS

 

OSMOSIS คือการพยายามแพร่ผ่านเนื้อเยื่อของ ของเหลวที่ต่างกัน(ก๊าซก็ได้) พยายามทำให้ 2 ฝั่งของเนื้อเยื่อมีของเหลวที่มีลักษณะเดียวกัน ผสมกันเป็นเนื้อเดียว   กระบวนการ OSMOSIS  นี้ใช้อธิบายการควบคุมปริมาณปรสิต เมื่อเติมเกลือที่ความเข้มข้น 0.3-0.5% ลงในน้ำ ปรสิตในบ่อปลา ซึ่งมีน้ำอยู่ในเซลล์จะออกมาข้างนอกเนื้อ รักษาสมดุลย์ (ทำนองเดียวกันกับเกลือก็พยายามแทรกเข้าไปในเซลล์ (แต่เข้าไม่ได้) เมื่อเซลล์เสียน้ำออกไปในปริมาณมาก ปรสิตจึงตายหรืออ่อนแอลงด้วยภาวะขาดน้ำ

 

หลายตำราถกเถียงกันเรื่องนี้ บางท่านกล่าวว่า กระบวนการนี้จะสำเร็จก็ต้องเป็น OSMOTIC SHOCK คือการเพิ่มปริมาณเกลือในบ่ออย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด มากเท่าที่ปลาทนได้ (อาจถึง 1%) ปรสิตซึ่งการทำงานของอวัยวะไม่ซับซ้อนเท่าปลา จึงไม่สามารถทนได้หากการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ปรสิตบางส่วนอาจปรับตัวได้ ไม่ตาย เพียงอ่อนแอลงชั่วขณะเท่านั้น

 

4. การควบคุมปริมาณแบคทีเรีย : จริงหรือที่ว่าเกลือสามารถกำจัดแบคทีเรียได้

 

อย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับกัน “แบคทีเรียมีความสามารถในการปรับตัวดีเป็นอย่างยิ่ง” แม้แต่ว่ายาปฏิชีวนะ แบคทีเรียยังสามารถปรับตัว กลายพันธ์ ต่อต้านได้แม้แต่ในน้ำทะเล หรือ น้ำกร่อย ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 5 % แบคทีเรียยังสามารถอาศัย และ ออกฤทธิ์เดชได้

 

การใช้เกลือในวัตถุประสงค์นี้ จึงมองในแง่การกระตุ้นภูมิคุ้มกันมากกว่าการกำจัดหรือจำกัดแบคทีเรีย

 

จริงอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงค่าความเค็มแบบฉับพลัน (OSMOTIC SHOCK) สามารถยับยั้ง, ชะลอการเติบโตของแบคทีเรียได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอให้ปลามีพละกำลังขึ้นมาต่อสู้กับแบคทีเรียอีกครั้ง

 

5. ภูมิคุ้มกัน  : เรื่องนี้สำคัญ

 

นอกจากเกลือจะช่วยให้ตับทำงานน้อยลง (OSMOTIC PRESSURE)  ปลามีพลังงานเหลือพอสำหรับทำอย่างอื่น

 

เกลือ ทำให้ปลาขับเมือกออกมามากขึ้น ในเมือกของปลามีสาร ANTIBODIES อยู่เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่จัดการสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทำร้าย ไม่ว่าเป็นปรสิต , แบคทีเรีย ฯลฯ เมื่อปลาถูกโจมตีด้วย ปรสิต, แบคทีเรีย, ไวรัส จากภายนอกปลาจะป้องกันตัวเองด้วยการ ว่ายแฉลบหรือถูตัวกับผนัง เพื่อสลัดสิ่งรบกวนออก ถ้าไม่สำเร็จเมือกปลาหรือ สาร ANTIBODY จะถูกขับออกมาเพื่อกำจัดผู้รุกราน ในกรณีที่เป็นเรื่องเล็กน้อย ปรสิต,แบคทีเรีย ถูกกำจัดโดยราบคาบหากปลาไม่สามารถจัดการได้ เมือกเหล่านี้จะกลายเป็นปัญหาใหญ่

 

  1. ทำให้น้ำเสีย , คุณภาพน้ำแย่ ส่งผลให้เกิดสารพิษภายในบ่อ ทำให้ปลาอ่อนแอภูมิคุ้นกันต่ำลง
  2. ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง (จากข้อ 1 )
  3. เมือกที่ออกมาโดยเฉพาะที่ปกคลุมเหงือก ทำให้ปลาได้รับออกซิเจนน้อยลง (ทั้งที่มีความต้องการมากขึ้น)
  4. เกลือทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง
  5. เมือกที่ขับออกมา เป็นอาหารของแบคทีเรียและเชื้อรา ทำให้แพร่พันธุ์อย่างเร็ว

ดังนั้นกล่าวได้ว่า การใช้เกลือ ในด้านกระตุ้นภูมิคุ้มกันจึงมีทั้งได้และเสีย

 

6. DROPSY  : โรคตัวบวม , ตาบวม จากที่เคยกล่าวมาแล้ว DROPSY เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แบคทีเรีย,ปรสิต,ไวรัส,……… แต่ผลของ DROPSY คือทำให้ตับทำงานผิดปกติ การควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดพลาด เกิดภาวะสะสมน้ำทั้งในตัวและในเนื้อเยื่อ

 

การใช้เกลือร่วมในการรักษาจึงเป็นผลดี  อาจแนะนำได้ที่ 0.5-0.7% แช่ตลอดเพื่อลดการทำงานของตับ และใช้ร่วมกับการ DIP ที่ความเข้มข้นสูง เพื่อดึงน้ำส่วนเกินออกจากตัว

 

7.   แอมโมเนีย และ ไนไตรท์  :  เกลือช่วยเปลี่ยนรูปแอมโมเนีย ให้อยู่ในรูปแอมโมเนียมอิออนซึ่งมีพิษน้อยกว่า  และเกลือยังลดความสามารถของไนโตรท์ในการซึมผ่านเหงือกเข้าสู่ตัวปลาเพื่อทำลายฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด  ในภาวะที่ระบบกรองล่ม การใช้เกลือที่ 0.1-0.3 % เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์จะช่วยลดปัญหาได้

 

8. การใช้เกลือร่วมกับสารเคมือื่น ๆ

 

ด่างทับทิม  : หลีกเลี่ยง มีปัญหาเรื่องออกซิเจน มิหนำซ้ำด่างทับทิมพยายามออกซิไดซ์ เมือก ในขณะที่ เกลือทำให้ปลาขับเมือก

 

ฟอร์มาลีน  :  หลีกเลี่ยง 2 ตัวนี้ทำหน้าที่คล้ายกัน ฟอร์มาลีนทำให้ปลาขับเมือก ในขณะที่เกลือทำหน้าที่เดียวกันฟอร์มาลีนใช้ออกซิเจนมากในการทำงาน เกลือทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงใช้ 2 ตัวนี้พร้อมกัน เป็นการเสริมฤทธิ์ดับเบิ้ลกัน  ปลาขับเมือกมาก ๆ และมีออกซิเจนเหลือน้อย

 

ยาสลบ      :   ไม่มีหลักฐาน แต่ควรหลีกเลี่ยงหรือเฝ้าสังเกตขณะใช้

 

กล่าวโดยสรุป การใช้เกลือ ในปริมาณและจังหวะที่เหมาะสม จะช่วยทุเลาปัญหาได้หลายส่วน โดสการใช้ พอสรุปในเบื้องต้นแบบนี้ ใช้วิจารณญาณในการเลือกนะครับ

  • 0.1-0.15 % , 1-1.5 กก. ต่อน้ำ 1 ตัน เป็นการคลายเครียด
  • 0.3%  เพื่อเร่งการขับเมือกปลา แก้ปัญหาปรสิต, แบคทีเรียในเบื้องต้น,ระยะสั้น
  • 0.5% ทำนองเดียวกับที่ 0.3% แต่แนะนำสำหรับบ่อกักโรค, บ่อพยาบาล, ระยะสั้น
  • 0.5-1% สำหรับการรักษา DROPSY , 7-14 วัน
  • 2-5 % สำหรับการ DIP 1-10  นาที , กรุณาเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

เยี่ยมชมเพจ Facebookติดตามวิดีโอแนะนำการใช้งานส่งข้อความทาง Facebookสอบถามข้อมูลทาง Lineโทรศัพท์หาเรา